Now Reading
พลิก : Flip เมื่อการชมนิทรรศการทำให้เกิดการมองเห็นและรับรู้ในหลายแง่มุม ทั้งลึกและกว้าง

พลิก : Flip เมื่อการชมนิทรรศการทำให้เกิดการมองเห็นและรับรู้ในหลายแง่มุม ทั้งลึกและกว้าง

โครงการนิทรรศการศิลปะ : พลิก เป็นการเปิดและสร้างโอกาสให้กับศิลปิน มีความอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานในพื้นที่เฉพาะในบริบทใหม่ รวมไปถึงการนำเสนอความแปลกแตกต่างในการรับรู้งานของผู้ชม ภายใต้สถานการณ์หรือมิติของงานที่หลุดพ้นไปจากความคุ้นเคยเดิมๆ เพื่อให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมและสำรวจศิลปะในทัศนะที่ลึกกว้างและหลากหลาย คล้ายกับการพลิกสายตาเปิดโอกาสที่จะทำให้เกิดการมองเห็นและรับรู้ในหลายแง่มุมเพิ่มขึ้น ทั้งลึกและกว้าง ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ สนใจ ประหลาดใจ ชวนให้ขบคิด ติดตามต่อ

ภัณฑารักษ์ :วิชชุกร ตั้งไพบูลย์ และมิวเซียมออฟซัมติง
ระยะเวลา :นิทรรศการ ๑๔ มี.ค. – ๑๓ มิ.ย. ๒๕๖๔
สถานที่ :MOS Museum of Something
ที่อยู่ :1009 ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Art Exhibition: Flip

Flip is an art exhibition that makes and gives opportunities for artists, allowing them to be free in creating their artworks in a specific space, under a new context.

Furthermore, Flip introduces an audience a unique way of experiencing art under the fresh aspect that breaks free from boundaries and the same expectations, letting them participate and discover art in the more various and intense perspectives.

Like flipping, this exhibition aims to lead the way people experience art to the other side, which will create inspiration, attention, and surprise, driving people to consider and stay tuned.

Curator:                 Vichukorn Tangpaiboon & Museum of Something

Time:                      Sunday 14.03.21 – Sunday 13.06.21

Place:                    MOS Museum of Something

Address:                1009 Sukhumvit 71 Road, Khlong Tan Nuea Sub-district,

Watthana District, Bangkok 10110

Facebook Event

https://fb.me/e/48LwfBl9O

1. ประสาท นิรันดรประเสริฐ

ศิลปินชาวราชบุรี ผู้มีความหลากหลาย สร้างสรรค์งานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัลด้านการรังสรรค์ศิลปกรรมจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ในปี 2561 ผลงานของเขาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของชีวิตมนุษย์ที่ถูกกดทับโดยอำนาจนิยม ในมุมมองการจัดวางที่แปลกใหม่

“ทุกชีวิตมีแรงปรารถนา มันคือการดิ้นรนดำรงอยู่ แต่แรงปรารถนานั้นทำให้เรากดขี่เหยียบย่ำข่มเหงทำร้ายกันอยู่ตลอดมา โดยจากอำนาจรัฐ การเมือง เศรษฐกิจ และปัญหาสังคม”

2. ชุมพล คำวรรณะ

ชุมพล คือศิลปินระดับนานาชาติที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ตอนนี้ผลงานส่วนหนึ่งกำลังจัดแสดงที่ประเทศสิงคโปร์ จากการทำงานเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองศาสนา วัฒนธรรมประเพณี สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศิลปินที่เชื่อในอำนาจและคุณค่าของศิลปะ และใช้อำนาจนั้นถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆจากภายในชีวิตของผู้คนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปของสังคมภายนอก

3. นโรดม เขม้นเขตวิทย์

ศิลปินผู้มีความสามารถในการเขียนภาพเหมือนบุคคลโดยการใช้ถ่าน (ชาร์โคล) เจ้าของร้านเขียนภาพแห่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะลองทำสิ่งที่แปลกแตกต่างออกไปจากเดิมในนิทรรศการครั้งนี้ ในการสะท้อนให้เห็นถึงความลุ่มหลงงมงายของคนในปัจจุบัน ที่มองเห็นเพียงเปลือกนอกของสิ่งที่ตนสักการบูชา

“สิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีมากมายก่ายกอง ความเขื่อ ความศรัทธา โถมทับ ความจริง ความดี ความงาม คนยังทุกข์ทน”

4. พงษ์พันธ์ สุริยภัทร

นักออกแบบพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ที่มีผลงานการออกแบบทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งผลงานศิลปะในรูปแบบ Kinetic Art ที่ทำร่วมกับทีมงานของ JTBC ประเทศเกาหลีใต้ ยังได้รับรางวัล RED DOT: Communication Design ในปี 2559 ในครั้งนี้เขาได้พลิกบทบาทจากนักออกแบบพิพิธภัณฑ์มาเป็นศิลปิน เขาได้นำเสนองานศิลปะที่ตั้งคำถามถึงมูลค่าของชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมต่อการมีเกิดขึ้น-มีอยู่ของชิ้นงานและความคาดหวังในการเห็นผลลัพธ์ของงานศิลปะจัดวางที่ชิ้นงานถูกสร้างขึ้นแบบ Real-time ในแกลเลอรี่

“เมื่อความตายที่ผิดธรรมชาติถูกนำเสนอแบบ Real-time พร้อมพุทธศาสนสุภาษิตเตือนใจ กลายเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้ชมให้คิดทบทวนความหมายและคุณค่าของชีวิต”

5. นวัต เลิศแสวงกิจ

จบการศึกษา Master of Art (Painting) จาก Visva-Bharti University ที่ประเทศอินเดียในปี 2555 และศิลปบัณฑิต (ประยุกต์ศิลปศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศิลปากรในปี 2553 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งจะนำเสนอการวิจัยด้านวัฒนธรรมในการศึกษาวัฒนธรรมระหว่างไทย จีน แบบมีปฏิสัมพันธ์ ผ่านการท้าทายบริบทของศิลปะร่วมสมัย

6. วิสุทธิ์ กุศลมโนมัย

ศิลปินละครใบ้ ที่มักสื่อสารถึงประเด็นทางสังคมผ่านอารมณ์ขัน นอกจากนี้ยังมีความสนใจในศิลปะแขนงอื่นๆ เช่น การทำงานเขียน และการวาดภาพ ผลงานศิลปะของเขาในครั้งนี้เป็นการทำศิลปะแบบจัดวาง เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการพนันและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ความจริงที่เป็นที่รู้กันดีในสังคม แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

7. เอกลักษณ์ จุลสุคนธ์

ศิลปินหัวขบถผู้ทำงานภาพถ่ายเชิงทดลอง เจ้าของผลงานกระดาษชำระประวัติศาสตร์ ที่เริ่มจากแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์เดือนตุลาคม นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะ โดยในนิทรรศการนี้เขาจะพูดถึงการชำระล้างความสกปรกโสมมของประวัติศาสตร์ ผ่านการใช้สัญลักษณ์ ทั้งแบบที่เราคุ้นเคยกันดี และแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

8. สุดาภรณ์ เตจา

ศิลปินผู้ทำงานศิลปะเชิงนามธรรมและศิลปะร่วมสมัยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากจิตวิทยาของผู้คนและการเคลื่อนไหวในสังคม ถ่ายทอดเป็นผลงานนามธรรมเชิงสัญลักษณ์ที่มีนัยยะซ่อนเร้น สร้างคำถามต่อตัวผู้ชมและสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา งานของสุดาภรณ์หลายชิ้นอ้างอิงถึงข้อมูลปฐมภูมิ งานวรรณกรรม ตัวเลข และความเชื่อ

ผลงานของสุดาภรณ์ได้รับการจัดนิทรรศการเดี่ยวในประเทศไทยกับเซรินเดียแกเลอรี่ และสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพในปี 2557 – 2562 และแกเลอรี่ฌอง-ฟรองซัวส์ กาโซ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในปี 2558 และงานแสดงกลุ่มทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เช่น SPECTROSYNTHESIS II – Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia (กรุงเทพฯ 2562), Art Hsinchu (ไต้หวัน 2561), Éclectisme (ปารีส 2559) and Art Stage (สิงคโปร์ 2559)

กดติดตามเราได้ที่

website       :        www.fyibangkok.com

facebook     :       

instagram    :       

twitter         :       

youtube       :       

ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ถึงกองบรรณาธิการ : pr.fyibangkok@gmail.com 
โทรศัพท์ 096 449 9516

กุลยา กาศสกุล