Now Reading
“Upcycling”เทรนด์แฟชั่นที่คุณต้องจับตามอง เรื่องจริงหรือจกตาในแวดวงแฟชั่นระดับโลก

“Upcycling”เทรนด์แฟชั่นที่คุณต้องจับตามอง เรื่องจริงหรือจกตาในแวดวงแฟชั่นระดับโลก

“Upcycling” เทรนด์แฟชั่นที่กำลังเป็นที่สนใจของเหล่าแบรนด์ดังทั่วโลก โดยเป็นเทรนด์ที่นำของเก่า มาประยุกต์ใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ นับเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในวงการสายแฟชั่น และเป็นที่จับตามอง เป็นอย่างมาก อันจะเห็นได้จากผลงานของดีไซน์เนอร์ชื่อดังอย่างเช่น “มารีน แซร์” หรือแม้แต่ “หลุยส์ วิตตอง”

แต่ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องหลัก เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจแบบ “ยั่งยืน รักสิ่งแวดล้อม” กันเสียก่อน โดยหากยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆก็ต้องเป็นแบรนด์ที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่าง Allbirds, Everlane, และ Outdoor Voices.

หากเรามองอย่างลึกซึ้ง เราจะพบว่าแบรนด์เหล่านี้จะมุ่งโฟกัสจุดขายไปที่ความมินิมอล แต่ไม่ได้ลงลึก ในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น Allbird ที่มีดีไซน์ใกล้เคียงกับแบรนด์รองเท้ากีฬาชื่อดัง หรือแบรนด์ Everlane ที่มุ่งทำการตลาดว่าตัวเองขายเสื้อผ้าสไตล์ลำลอง อย่างเช่นเสื้อหนาว ผ้าแคชเมียร์ กางเกงยีนส์ขาเดฟ หรือกางเกงขากระบอกที่ไม่มีโลโก้ยี่ห้อใดๆบนตัวสินค้า จนเกิดเป็น กระแสความนิยมว่าการเลือกใส่เสื้อผ้าดีไซน์แบบนี้เป็นรสนิยมที่ดี

แต่เบื้องลึก หารู้ไม่ว่าในความจริงแล้ว ธุรกิจแบบ “ยั่งยืน รักสิ่งแวดล้อม” นั้นมีอะไรมากกว่าเพียงแค่ ดีไซน์ ซึ่งหากเราย้อนกลับไปดูบทความของ New York Times เมื่อเดือนกรกฎาที่ผ่านมา จะเห็นว่าขนาดตัวบริษัท Everlane เองก็ยังไม่โปร่งใสนักในเรื่องของการใช้แรงงาน แถมยังปิดบังข้อมูล ดังกล่าวอีกด้วย

แต่หากบริษัทเหล่านี้ยังคงใช้คอนเซ็ปต์เดิมๆของสิ่งที่เรียกว่าแฟชั่น “ยั่งยืน รักสิ่งแวดล้อม” เช่นพูดถึงที่มา ของวัตถุดิบต่างๆว่ามาจากไหน ผลิตอย่างไร รักโลกอย่างไรบ้าง ความยั่งยืนดังกล่าวก็ไม่ใช่ความยั่งยืน ที่แท้จริง เพราะสุดท้ายแล้วแฟชั่นก็คือแฟชั่น วัฏจักรของเสื้อผ้าแฟชั่นคือการนำเสื้อผ้าที่เป็นที่นิยม ในเวลานั้นๆมาใส่ แล้วพอผ่านไปสักระยะก็ถูกลืมไว้ในตู้เสื้อผ้า และสุดท้ายแล้ว เราเองนี่แหละที่จะเป็นคน ลืมว่าที่มาที่ไปของเสื้อผ้าเหล่านี้เป็นมาอย่างไร

ดังนั้น วิธีที่สมเหตุสมผลที่สุดก็คือการผลิตสินค้าใหม่จากชุดค้างสต๊อคนั่นแหละ และผู้ที่ริเริ่มการนำสินค้า ค้างสต๊อคมาผลิตใหม่จนเป็นที่โด่งดังก็คือดีไซน์เนอร์ชาวปารีสอายุ 29 ปีที่มีชื่อว่า มารีน แซร์ เจ้าของ ผลงานเสื้อผ้าลายพระจันทร์เสี้ยว และ แอมิลี อดัมส์ โบดส์ ดีไซน์เนอร์สาวอายุ 30 ผู้สรรค์สร้างกางเกง และเสื้อแจ๊คเก็ตจากผ้าห่มรุ่นเก่า

ในความจริงแล้วตัวมารีนเองนั้นก็ไม่ได้กล่าวอ้างตนเองว่าเป็นดีไซน์เนอร์สายอนุรักษ์หรืออะไรทั้งนั้น และโดยมากจะเป็นสื่อและเสียงรอบข้างที่ป่าวประโคมเธอมากกว่า แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เธอก็บอกว่า ผลงานต่างๆจากความคิดสร้างสรรค์ของเธอได้สร้างรายได้ให้ธุรกิจมากขึ้นกว่าเดิมถึง 50% เลยทีเดียว

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา แซร์ได้อธิบายวิธีการสร้างผลงานของเธอผ่านวิดีโอ โดยอธิบายขั้นตอนการทำ Upcycle ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ซึงเป็นวิธีที่ตรงกันข้ามกับการทำสินค้าแฟชั่นและการตลาดแบบ DTC (ย่อมาจาก Direct To Customer)

หากให้ยกตัวอย่างผลงานในสตูดิโอเธออีกสักชิ้นคงต้องพูดถึงเสื้อคลุมอิสลามสีแดงที่ทำจากผ้าไหมของเธอ เธอนำผ้าพันคอผ้าไหมสีแดงรุ่นเก่ามาย้อมสีแดงใหม่ให้ฉูดฉาดกว่าเดิม ซึ่งเพิ่มความไฉไล และเติมชีวิตใหม่ ให้กับมัน และนำมาเพิ่มงานปะอีกเล็กน้อยตามสไตล์ของเก่าเล่าใหม่

เครดิตภาพจาก marineserre_official

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ เธอนำผ้าสีขาวและดำที่ค้างสต๊อคมาทำการบูรณะใหม่จนกลายเป็นกางเกง เล่นบาสเก็ตบอลขาสั้นแบบที่มีซิปรูดได้ และชุดสูทหรูสไตล์ Chanel ซึ่งแสดงออกถึงรสนิยม ของผู้สวมใส่ที่ไม่สนใจเรื่องวัตถุดิบหรือชั้นตอนการผลิต แต่ให้ความสำคัญกับความหมายของสินค้าจริงๆ และไม่ว่ารูปลักษณ์เก่าของสินค้าจะเป็นผ้าเช็ดตัว หรือผ้าพันคอธรรมดาๆ ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของ “ชีวิตใหม่” ที่เธอมอบให้ทั้งนั้น

ในวิดีโอ แซร์ยังแสดงให้เห็นถึงพลังแห่งการ Upcycling ด้วยการสื่อว่ามันคือความท้าทายใหม่ ของวงการแฟชั่นอย่างแท้จริง เพราะว่าบนโลกนี้มีเพียงไม่กี่คน ที่สามารถเปลี่ยนสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ สิ่งที่เหลือใช้ให้กลับมามีค่าได้อีกครั้งหนึ่ง

เครดิตภาพจาก marineserre_official

หลังจากนั้นไม่นาน ดีไซน์เนอร์ชื่อดังต่างๆอย่างเช่น บอตเตอร์, เพนทิเมนโต, คอลลิน่า สตราดา, และ โชโพวา โลว์นา ก็เลือกที่จะเดินตามรอย แซร์ และโบดส์ เช่นกัน แต่โดยส่วนมากจะเชิดชูไปที่แนวคิดการ Upcycle มากกว่าการนำผ้าเก่ามาใช้ใหม่

ทั้งนี้ การทำ Upcycle ไม่ใช่เรื่องง่าย หรือต้นทุนน้อยอย่างที่หลายๆคนคิด แต่มันคือหนึ่งในก้าวแรก ที่นำไปสู่อนาคตอันสดใสของวงการแฟชั่น

ดังนั้น แนวความคิด Upcycling จึงไม่น่าจะใช่เรื่องแปลกใหม่ได้อย่างเต็มร้อย เพราะผู้ที่ริเริ่มการทำ การ Upcycling เป็นคนแรกๆในวงการแฟชั่นคือ มาร์ติน มาร์เจลล่า (ผู้ที่ริเริ่มการนำถุงมือมาทำเป็น เสื้อ, นำเศษจานกระเบื้องมาทำเสื้อกั๊ก, และนำเข็มขัดมาทำเสื้อคลุม) และ ซูลี เบ็ท แบรนด์แฟชั่น จากปารีส ซึ่งริเริ่มการนำผ้าและวัตถุดิบจากชุดค้างสต๊อคมาผลิตใหม่

แม้ในเวลานี้เราอาจยังไม่รู้ว่าการ Upcycling จะเป็นคำตอบสำหรับเทรนด์แฟชั่นในอนาคตอันใกล้ หรือไม่ แต่ในตอนนี้เราก็ได้เห็นคนดังอย่าง เวอร์จิล แอบโลห์ Men’s Artistic Director จากหลุยส์ วิตตองได้กระโจนเข้าสู่สมรภูมินี้เรียบร้อยแล้ว โดยเขาได้ตั้งใจสร้างความเปลี่ยนแปลงเริ่มต้น แต่ความมุ่งมั่นของเขาที่จะยกเลิกการแสดงชุดเสื้อผ้าตามฤดูกาล และเปลี่ยนไปเป็นการแสดงแบบ ท่องไปทั่วโลกแทน ซึ่งกำลังจะเริ่มต้นเร็วๆนี้ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ นอกจากนี้เขายังให้คำนิยามของ Upcycling ในอุดมคติของเขาเอาไว้ว่า “เราต้องการให้การ Upcycling เป็นแนวทางสำหรับ คอลเล็กชั่นชุดฤดูร้อนและฤดูใบไม้ผลิปี 2021 เราจะเสนอมันผ่านสายตาของเด็กๆ และเปลี่ยนแนว ความคิดเก่าๆเดิมๆที่สร้างมลภาวะต่างๆให้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน”

The ideas Abloh is exploring about the purpose of fashion are more interesting than the clothes he showed Thursday, portions of which, though expertly styled by industry star Ib Kamara, bore an uncanny resemblance to Walter Van Beirendonck’s Fall 2016 collection. (As Van Beirendonck told Hypebeast on Friday, “This is not just copying, this is using my world, ideas, colors, signature, cuts, shapes as his collection moodboard.”)

โดยเวอร์จิล แอบโลห์ ให้ความสำคัญกับความตั้งใจหลักในการสร้างสรรคอลเลคชั่น มากกว่าการคัดเลือก ใช้เนื้อผ้าต่างๆ และหากมาองให้ลึกซึ้งไปกว่านั้น เราจะเห็นว่าบางคอลเล็กชั่นของเขามีความคล้ายคลึง กับผลงานของ วอลเตอร์ แวน แบเรนดอร์ก ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2016 (ซึ่งวอลเตอร์เคยให้สัมภาษณ์ว่า “นี่ไม่ใช่แค่การเลียนแบบ แต่มันคือการเอาโลก ไอเดีย สี สัญลักษณ์ ลักษณะการตัด รูปร่าง และเอกลักษณ์ อื่นๆของเขาไปใช้”)

ดังนั้น การ Upcycle จึงนับเป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทายและสั่นสะเทือนวงการแฟชั่น สำหรับผู้นำแบรนด์ ที่เน้นเรื่องความสวยงามและความหรูหราเป็นหลักอย่างหลุยส์ วิตตอง โดยหากสังเกตุจากกิจกรรมต่างๆ ในปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าแบรนด์นี้มีนิยามแนวทางแฟชั่นของตัวเองไว้ว่า เสื้อผ้าควรเป็นสิ่งที่ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป ขณะที่ตัวแอบโลห์เองสมัยนั้นก็ยังเชื่อมั่นในนิยามอันเดียวกันด้วย

แต่สุดท้ายแล้ว ทางออกที่แท้จริงคืออะไร? ในเมื่อเวลานี้ เรากำลังเข้าสู่ยุคที่ความคิดเห็น และไอเดียต่างๆ เริ่มจะเปลี่ยนแปลงทิศทาง โดยเฉพาะในเรื่องของเครื่องแต่งกาย  เราควรทำอย่างไร เพื่อให้เสื้อผ้าที่เราใส่ใน ทุกวันนี้ มีความหมายมากกว่าการแสดงออกทางสถานะ

บางที วิธีง่ายๆที่สามารถทำได้ในตอนนี้อาจยังไม่ใช่การละทิ้งความคิดเก่าๆไปเสียให้หมดเลยทีเดียว บางทีการลองเอาของเก่าเก็บ ของเหลือใช้ของเรามาสรรค์สร้างให้เป็นของใหม่ดู ก็เป็นไอเดียที่ฟังดูดี ไม่น้อยเลย

เครดิตภาพจาก Louis Vuitton

เครดิตภาพจาก

marineserre_official

Louis Vuitton

Article Reference

https://www.gq.com/gallery/louis-vuitton-marine-serre-upcycling
พราว เวชสิทธิ์
Latest posts by พราว เวชสิทธิ์ (see all)