Now Reading
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับแบรนด์ WISHARAWISH จัดงานแถลงข่าวการแสดงผลงานเครื่องแต่งกายผ้าไทยต้นแบบ กับคอลเลกชั่นผ้าไทยร่วมสมัย ในโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2563

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับแบรนด์ WISHARAWISH จัดงานแถลงข่าวการแสดงผลงานเครื่องแต่งกายผ้าไทยต้นแบบ กับคอลเลกชั่นผ้าไทยร่วมสมัย ในโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2563

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ และนายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข  ดีไซเนอร์ และเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH (วิชระวิชญ์) ได้ดำเนินงานต่อยอดโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทย สู่สากล ประจำปี 2563  เป็นปีที่สอง เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทย รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลงาน เครื่องแต่งกายที่ตัดเย็บด้วยผ้าไทยต้นแบบ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายทางศิลปวัฒนธรรมผ่านผ้าไทย ไปสู่ชุมชนต้นแบบ โดยจากเดิม 7 ชุมชน เพิ่มเป็น 14 ชุมชน และได้จัดแถลงข่าวการแสดงผลงานเครื่องแต่งกาย ผ้าไทยต้นแบบ ณ Art Space ชั้น 8 (River Museum) ไอคอนสยาม

ผลงานจากแบรนด์ คอตตอนฟาร์ม จังหวัด เชียงใหม่, จุฑาทิพ จังหวัดขอนแก่น และฅญาบาติก จังหวัด นครราชสีมา
ผลงานจากแบรนด์ คอตตอนฟาร์ม จังหวัด เชียงใหม่, จุฑาทิพ จังหวัดขอนแก่น และฅญาบาติก จังหวัด นครราชสีมา
ผลงานจากแบรนด์ กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัด ขอนแก่น และกลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุโข จังหวัด ขอนแก่น
ผลงานจากแบรนด์ กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัด ขอนแก่น และกลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุโข จังหวัด ขอนแก่น
ผู้ประกอบการ ตัวแทนจาก 14 ชุมชน และผลงาน
ผู้ประกอบการ ตัวแทนจาก 14 ชุมชน และผลงาน
ผลงานจากแบรนด์ ฅญาบาติก จังหวัด นครราชสีมา
ผลงานจากแบรนด์ ฅญาบาติก จังหวัด นครราชสีมา
ผลงานจากแบรนด์ บาติก เดอนารา จังหวัด ปัตตานี
ผลงานจากแบรนด์ บาติก เดอนารา จังหวัด ปัตตานี
ผลงานจากแบรนด์ ฉัตรทองไหมไทย จังหวัด นครราชสีมา
ผลงานจากแบรนด์ ฉัตรทองไหมไทย จังหวัด นครราชสีมา
ผลงานจากแบรนด์ คอตตอนฟาร์ม จังหวัด เชียงใหม่
ผลงานจากแบรนด์ คอตตอนฟาร์ม จังหวัด เชียงใหม่

นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์ และเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH กล่าวเสริมว่า “ในคอลเลกชั่น Post-Wore Delicacies (โพส วอร์ เดลิเคซี่) เป็นการเอาของในชีวิตประจำวันกลับมา ทำให้มีชีวิตอีกครั้ง ซึ่งเหมือนกับสิ่งที่เราพยายามทำอยู่ในตอนนี้ นั่นคือนำผ้าไทยกลับมาใช้ยังไงให้ดูตื่นเต้น โดยที่ไม่เชย หรือซ้ำซาก สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ ดูแลรักษาได้ง่าย และราคาสามารถสัมผัสได้  ส่วนดีไซน์ของเสื้อผ้าจะค่อนข้างเบสิก เน้นไปที่แมททีเรียล และที่สำคัญเราโดดเด่นด้วยนวัตกรรมเส้นใยที่เรียกว่า FILAGEN (ฟิลาเจน) และ Nanozinc (นาโนซิงค์)โดยในครั้งนี้เราได้ทำงานกับชุมชนถึง 14 ชุมชนทั่วประเทศไทย เราพยายามจะดึงจุดเด่นของแต่ละที่ออกมา ทำให้งานมีความน่าสนใจมากขึ้น และตรงตามความต้องการของ ตลาด ซึ่งผลตอบรับจากปีที่แล้วก็ถือว่าดีมาก ออเดอร์ผ้าจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามามากมายทำให้เห็นว่าผ้าไทย ของเรายังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก

ผลงานจากแบรนด์ จุฑาทิพ จังหวัดขอนแก่น
ผลงานจากแบรนด์ จุฑาทิพ จังหวัดขอนแก่น
ผลงานจากแบรนด์ ชาคราฟ จังหวัด แพร่
ผลงานจากแบรนด์ ชาคราฟ จังหวัด แพร่
ผลงานจากแบรนด์ กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามหนองอีบุตร จังหวัด กาฬสินธุ์
ผลงานจากแบรนด์ กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมครามหนองอีบุตร จังหวัด กาฬสินธุ์
ผลงานจากแบรนด์ กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุโข จังหวัด ขอนแก่น
ผลงานจากแบรนด์ กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุโข จังหวัด ขอนแก่น
ผลงานจากแบรนด์ ไฑบาติก จังหวัด กระบี่
ผลงานจากแบรนด์ ไฑบาติก จังหวัด กระบี่
ผลงานจากแบรนด์ กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัด ขอนแก่น
ผลงานจากแบรนด์ กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัด ขอนแก่น
ผลงานจากแบรนด์ ซาโรมา ปาเต๊ะ จังหวัด ปัตตานี
ผลงานจากแบรนด์ ซาโรมา ปาเต๊ะ จังหวัด ปัตตานี
ผลงานจากแบรนด์ เรือนไหมใบหม่อน จังหวัด สุรินทร์
ผลงานจากแบรนด์ เรือนไหมใบหม่อน จังหวัด สุรินทร์

ทั้งนี้ โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2563 ยังมีกิจกรรมอีกมากมายให้ได้ติดตามกัน อาทิ นิทรรศการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ ที่ได้จากชุมชน/กลุ่มที่ทอผ้า/ผู้ประกอบการ และการจัดแสดงผลงานเครื่องแต่งกายจากผ้าไทยต้นแบบ ระหว่างวันที่ 19 – 22 มีนาคม  2563 บริเวณ Art Space ชั้น 8 (River Museum) ไอคอนสยาม